วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

N038 | ครูอาชีพยอดฮิตเด็กรุ่นใหม่ | อ่านข่าวการศึกษา



ถึงยุคต้องง้อครู!! อาชีพยอดฮิตเด็กรุ่นใหม่
อนาคตไกล ชีวิตมั่นคง ไม่ตกงานชัวร์

หมดสมัยแล้วที่จะมองว่า ครูเป็นอาชีพมีแต่ปัญหาหนี้สิน ไร้ความก้าวหน้า
เพราะครูยุคนี้ได้รับอัตราเงินเดือนและค่าตอบแทนวิทยฐานะไม่น้อยหน้าข้าราชการทั่วไปซะอีก
แถมมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานสูง และปลอดความเสี่ยงตกงาน
เพราะความต้องการครูยังมีตลอดเวลาทั้งรัฐและเอกชน
โดยเฉพาะครูที่มีคุณภาพพร้อมปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันโลกทันสถานการณ์
รับรองอนาคตไกล

ถ้าไปถามเด็กไทยในช่วง 2–3ปีนี้ ว่าอยากเรียนคณะไหนมากที่สุด นอกจากคณะยอดฮิตอย่างแพทย์,
วิศวะ, นิเทศศาสตร์, อักษรศาสตร์และบัญชีแล้ว คณะครุศาสตร์ที่ปลุกปั้นครูก็เป็นอีกสาขาที่เด็กไทยยุคใหม่ต้องการเรียนที่สุดคณะหนึ่งเพราะถือเป็นอาชีพที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรีได้สร้างคนสร้างสังคม
เด็กยุคใหม่ยังมองไกลว่าพวกเขาต้องการเป็นครูเพื่อจะได้เปลี่ยนระบบการศึกษาไทย

ในฐานะคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริเดช สุชีวะบอกเล่าถึงสถานการณ์การรับสมัครคัดเลือกนิสิตเข้าศึกษาในคณะครุศาสตร์ทั้ง21 วิชาเอกซึ่งมากที่สุดของประเทศ ประจำปีการศึกษาล่าสุดว่าปีนี้เป็นปีแรกที่มีการปรับปรุงหลักสูตร จากหลักสูตร 5 ปีเป็นหลักสูตร 4 ปี คณะจำเป็นต้องจำกัดจำนวนนิสิตที่จะรับจากเดิมที่เคยรับปีละ 450 คนมาในปีนี้คาดว่าจะรับนิสิตใหม่ประมาณ 400 คนเพื่อลดปัญหาจำนวนนิสิตที่รับปีนี้จะต้องไปปฏิบัติวิชาชีพ ครูพร้อมกับนิสิตปี 5ของหลักสูตรเดิมในปีการศึกษา 2565 โดยผลจากการเปิดรับสมัครทั้ง3 รอบที่ผ่านมา ทำให้ได้นิสิตมาแล้ว 306 คน และในรอบ 4 คาดว่าจะเหลือโควตารับเพิ่ม 100คนโดยคะแนนสูงสุดจากรอบ 3ที่ผ่านมา เป็นของสาขามัธยมศึกษามีคะแนนอยู่ที่ 26,000 กว่าคะแนนและคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 18,000 กว่าคะแนน

อย่างไรก็ดีแนวโน้มที่น่าดีใจคือ เด็กรุ่นใหม่ที่มาสอบสัมภาษณ์กับคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ในปีนี้
ล้วนแต่มีความตั้งใจและจริงจังที่อยากจะเป็นครูหลายคนตั้งใจนำวิชาชีพครูกลับไปพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดเนื่องจากตระหนักว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่มั่นคง มีคุณค่า สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคม 
เกือบทุกอาชีพกำลังถูกดิสรัปชันโดยเทคโนโลยีอาชีพครูก็หนีไม่พ้น จึงต้องมีการปรับตัวขนานใหญ่ คณบดีคนเก่งชี้ว่าครูยุคใหม่ต้องมีมากกว่าจิตวิญญาณความเป็นครู โดยครูต้องยืดหยุ่นพร้อมปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับความต้องการแท้จริงของเด็กที่สำคัญครูยุคใหม่ต้องมีทักษะการจัดการเรียนรู้แบบใหม่เพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นในอนาคต

ซึ่งครอบคลุมถึงทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทักษะการร่วมมือรวมพลัง ทักษะการทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ ทักษะด้านความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมทักษะการสื่อสารและรู้เท่าทันสื่อ ทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนทักษะการนำการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทางคณะมุ่งเน้นปีนี้คือการเรียนรู้ที่มุ่งสร้างสมรรถนะควบคู่กับการเปิดประสบการณ์ภาคสนามทางการศึกษาตั้งแต่ปี เพื่อให้นิสิตได้ไปคลุกคลีเรียนรู้ผู้เรียน, โรงเรียนและระบบการศึกษาจริงๆ

คำว่าครูไม่ควรจำกัดอยู่แค่เรื่องการสอนความรู้จากตำราแต่ครูต้องทำหน้าที่เป็นเพื่อนผู้ชี้แนะให้ผู้เรียนสร้างการเรียนรู้ด้วยความใฝ่รู้ของตนเองครูจึงต้องเข้าใจความต้องการและรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไปครูยุคใหม่จะให้คำแนะนำด้านวิชาการอย่างเดียวไม่พอ ต้องถ่ายทอดทักษะด้านชีวิตจิตใจ และสังคมด้วยเพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกยุคใหม่และเติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพของชาติต่อไป.

เรียกได้ว่าอาชีพครู
กลายเป็นอาชีพยอดฮิต อาชีพในดวงใจ อีก
1 อาชีพของเด็กยุคใหม่กันไปแล้วนะครับ

ขอขอบคุณ : ไทยรัฐ





วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

สพฐ.แจก 1 ล้าน ทุกเขตพื้นที่ ยกระดับคุณภาพการศึกษา | อ่านข่าวการศึกษา



สพฐ.แจก 1 ล้าน ทุกเขตพื้นที่
ยกระดับคุณภาพการศึกษา

เลขาธิการ กพฐ.แจก 1 ล้านบาทให้เขตพื้นที่ยกระดับคุณภาพการศึกษา จี้ 2
เดือนเด็กต้องอ่านออกเขียนได้
100%
เตรียม ถก ผอ.สพท.ทั่วประเทศ 29 พ.ค.นี้
  
วันนี้
(
22 พ.ค.) ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ ปฎิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(กพฐ.)
เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(กพฐ.) ว่า
ตนได้สั่งการให้ทุกสำนักของสพฐ.ได้บูรณาการการทำงานร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพ
พร้อมทั้งสร้างจุดเด่นของแต่ละหน่วยงานในการขับเคลื่อนการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รวมถึงเร่งติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปี
2562 ไตรมาสที่ 3 เดือนมิถุนายน
โดยเฉพาะงบลงทุนต้องเร่งใช้จ่ายให้เรียบร้อยเป็นไปตามเป้าหมาย เพื่อไม่ให้งบตกไป
ส่วนภาพรวพการเปิดเรียนเมื่อวันที่
16
พ.ค.เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
โดยตนได้กำชับเรื่องนมโรงเรียนว่าเขตพื้นที่ต้องประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.) ว่าอย่าให้มีการดำเนินการล่าช้า อย่างไรก็ตามในวันที่
29 พ.ค.ตนจะประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ
เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆรวมถึงวางแนวทางนโยบายรับนักเรียนในปี
2563 ด้วย
 “ผมเตรียมจัดสรรงบประมาณให้แก่เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศเขตละ 1
ล้านบาท”
 เพื่อใช้เชื่อมโยงการทำงานของเขตพื้นที่การศึกษาด้วยการยึดห้องเรียนและเด็กเป็นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เช่น
การอบรมพัฒนาครู การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นต้น
 “ซึ่งผมมีโจทย์ใหญ่ที่ต้องการให้เด็กอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็นภายในระยะเวลา 2
เดือนต่อจากนี้”

 โดยเงินดังกล่าวที่ให้ไปเขตพื้นที่ต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนในการนำเงินไปใช้จ่ายสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ
แต่หากเขตพื้นที่ไหนเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และมีโรงเรียนจำนวนมากก็จะจัดสรรเพิ่มให้ตามความจำเป็นของแต่ละพื้นที่
ปฎิบัติหน้าที่เลขาธิการ กพฐ.กล่าวและว่า
นอกจากนี้ตนได้มอบหมายให้เขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตจัดทำ
Big Data ด้านวิชาการ เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่างๆของพื้นที่และโรงเรียน
สำหรับบูรณาการในการแก้ปัญหาการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการจัดทำ
Big Data ส่วนกลางจะเป็นพี่เลี้ยงให้ว่าการจัดทำฐานข้อมูลดังกล่าวเขตพื้นที่จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง 



วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ชง ลดขนาดห้องเรียนโรงเรียนดังเหลือ 35 คน | อ่านข่าวการศึกษา





ชง ลดขนาดห้องเรียนโรงเรียนดังเหลือ 35 คน | อ่านข่าวการศึกษา



‘เอกชัย’ จ่อหารือ เลขาธิการกพฐ.ชงลดขนาดห้องเรียนโรงเรียนดังเหลือ 35 คน ชี้ แนวทางรับนักเรียนสอบ 100 % ไม่สร้างความเหลื่อมล้ำ



วันนี้ (21 พ.ค.) ศ.ดร.เอกชย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงกรณีนักวิชาการออกมาติงเรื่องข้อเสนอของบอร์ดกพฐ.ในการแบ่งกลุ่มโรงเรียนรับนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก เป็นโรงเรียนที่รับเด็กจากทั่วประเทศด้วยการสอบ 100% กลุ่มที่สองกลุ่มที่รับเด็กในเขตพื้นที่บริการเหมือนในปัจจุบันอาจส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ว่า  เรื่องนี้ไม่ได้เป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำแต่อย่างใด เพราะในเมื่อเด็กเก่งได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเอง เพราะทุกวันนี้โรงเรียนทั่วประเทศมีคุณภาพไม่เท่ากัน แต่ในความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องคุณภาพโรงเรียนที่ไม่ใช่โรงเรียนแข่งขันสูงก็ต้องดึงศักยภาพของตัวเองสร้างจุดเด่นพัฒนาให้เป็นโรงเรียนดังให้ได้ หรือแม้โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลก็ไม่จำเป็นว่าโรงเรียนจะต้องเป็นโรงเรียนดัง แต่โรงเรียนสามารถทำให้เด็กได้เรียนกับครูที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับเด็กที่เรียนในโรงเรียนดัง เช่น โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นต้น โดยการทำเทคโนโลยีมาใช้บันทึกการสอนของครูเก่งๆให้เด็กในพื้นที่ห่างไกลได้เรียน  อีกทั้งเกณฑ์รับนักเรียนแนวทางนี้ยังเป็นช่องทางสกัดปัญหาทุจริตและการเรียกรับเงินแลกที่นั่งเรียนหรือแป๊ะเจี๊ยให้หมดไปอย่างแน่นอน

             

ประธาน กพฐ.กล่าวต่อไปว่า ส่วนข้อกังวลว่าเด็กจะแห่ไปกวดวิชามากขึ้นนั้น เรื่องนี้เราต้องเปลี่ยนวิธีการออกข้อสอบให้เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ พร้อมกับทักษะที่เด็กควรจะมีและพร้อมเรียน เพราะเด็กก็รู้เนื้อหาการเรียนอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อเราปรับวิธีสอบเป็นคิดวิเคราะห์เชื่อได้เลยว่าโรงเรียนกวดวิชาไม่มีทางสอนได้ และการเด็กแห่ไปเรียนกวดวิชาก็จะหมดไปเอง ขณะเดียวกันกันการแก้ไขปัญหาโรงเรียนขยายโอกาสก็ควรจะสนับสนุนการเรียนสายอาชีพมากกว่าการขยายไปสู่รูปแบบการเรียนสามัญ โดยปรับให้เหมาะกับบริบทกับพื้นที่และชุมชนนั้น อย่างไรก็ตามเร็วๆนี้ตนจะเสนอ ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ ปฎิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ให้มีการตั้งคณะกรรมการปรับปรุงเกณฑ์รับนักเรียน ปี 2563 ซึ่งตนมีแนวคิดจะเสนอให้ปรับลดการรับนักเรียนในโรงเรียนที่มีอัตราแข่งขันสูงจากเดิม รับ 40 คนต่อห้อง เหลือเป็น 35 คนต่อห้อง เพื่อกระจายเด็กไปเรียนในโรงเรียนอื่นได้บ้าง



ขอขอบคุณ : เดลินิวส์

https://www.dailynews.co.th/education/710390



ติดตามเราทางเพจ

https://web.facebook.com/ReadNewsEducation/



ติดตามเราทางบล็อก

https://arnkhawkansueksa.blogspot.com/



#อ่านข่าวการศึกษา #ข่าวการศึกษา #การรับนักเรียน




วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

รอง กพฐ. ลงพื้นที่ตรวจ เปิดเทอมวันแรก | อ่านข่าวการศึกษา





เปิดเทอมวันแรก
รอง กพฐ.ลงพื้นที่ตรวจ ร.ร.เทพศิรินทร์พบเรียบร้อย-พร้อมทุกด้าน

รอง กพฐ.ลงพื้นที่ตรวจ ร.ร.เทพศิรินทร์พบเรียบร้อย-พร้อมทุกด้าน

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม
ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ นายพีระ รัตนวิจิตร
รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)
พร้อมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามความพร้อมในการเปิดเทอมวันแรก
และถือเป็นการเปิดเทอมอย่างเป็นทางการของโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ทั่วประเทศ
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศเปิดเทอมวันแรกของโรงเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
นักเรียนทยอยเข้าเรียนตั้งแต่เช้า
ทางโรงเรียนอำนวยความสะดวกโดยจัดเตรียมช่องทางเพื่อให้ผู้ปกครองจอดรถส่งบุตรหลานเข้าเรียน
เพื่อลงปัญหาการจราจรติดขัด
และผู้อำนวยการเข้ารับนักเรียนในตอนเช้าบริเวณหน้าประตูโรงเรียนพร้อมกับครูเวรด้วย
นายพีระ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามความพร้อมว่า
วันนี้เป็นวันเปิดภาคเรียน หรือเปิดเทอมวันแรกของภาคเรียนที่
1 ปีการศึกษา 2562 สพฐ. จึงได้มาติดตามความพร้อมของโรงเรียน
ซึ่งที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ถือได้ว่ามีความพร้อมทุกด้าน ทั้งอาคาร สถานที่
ครูและสื่อการสอน เชื่อว่าจะสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม ก่อนเปิดเทอม
สพฐ.ได้มีหนังสือกำชับผ่านไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศ
ให้ประสานโรงเรียนในสังกัดดูแล เตรียมความพร้อมทุกด้านรองรับการเปิดเรียน
ทั้งอาคารสถานที่ ความสะอาด ความปลอดภัย ครูผู้สอน สื่อการเรียนการ
ที่สำคัญปีนี้เน้นย้ำให้ผู้อำนวยการโรงเรียนต้องลงมารอรับนักเรียนในตอนเช้าบริเวณหน้าประตูโรงเรียนพร้อมกับครูเวร
เพื่อสร้างการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครองและนักเรียน
โดยเฉพาะนักเรียนที่เพิ่งเข้ามาเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 และ ม.4 ที่เป็นเด็กใหม่ได้มีโอกาสรู้จัก
ผู้อำนวยการโรงเรียนและครู
สำหรับโรงเรียนในต่างจังหวัด
ช่วงที่ผ่านมามีปัญหาพายุฤดูร้อนทำให้บางโรงเรียนได้รับผลกระทบความเสียหาย
ซึ่งได้กำชับให้สำรวจตรวจสอบความปลอดภัยของอาคาร
สถานที่ให้เรียบร้อยให้เสร็จก่อนเปิดเทอม
และเร่งแก้ไขให้พร้อมกับการเปิดการเรียนการสอน ตรงนี้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสพท.
ผู้อำนวยการโรงเรียน ต้องกวดขันพิเศษ โดยทุกอย่างต้องคำนึงถึงการปลอดภัยของเด็กเป็นหลัก
หากละเลยไม่ใส่ใจกรณีเกิดเหตุการณ์ที่อันตรายก็เป็นความรับผิดชอบของโรงเรียน
ขณะเดียวกัน ได้กำชับเรื่องการเดินทางไป-กลับโดยรถรับส่ง ให้คอยตรวจตราให้ปลอดภัย
การทำความสะอาดครัว โรงอาหารต่างๆ ได้กำชับไว้เรียบร้อยแล้ว
นายพีระ กล่าว


ขอขอบคุณ : มติชน https://www.matichon.co.th/education/... ติดตามเราทางเพจ https://web.facebook.com/ReadNewsEduc...