วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

N038 | ครูอาชีพยอดฮิตเด็กรุ่นใหม่ | อ่านข่าวการศึกษา



ถึงยุคต้องง้อครู!! อาชีพยอดฮิตเด็กรุ่นใหม่
อนาคตไกล ชีวิตมั่นคง ไม่ตกงานชัวร์

หมดสมัยแล้วที่จะมองว่า ครูเป็นอาชีพมีแต่ปัญหาหนี้สิน ไร้ความก้าวหน้า
เพราะครูยุคนี้ได้รับอัตราเงินเดือนและค่าตอบแทนวิทยฐานะไม่น้อยหน้าข้าราชการทั่วไปซะอีก
แถมมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานสูง และปลอดความเสี่ยงตกงาน
เพราะความต้องการครูยังมีตลอดเวลาทั้งรัฐและเอกชน
โดยเฉพาะครูที่มีคุณภาพพร้อมปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันโลกทันสถานการณ์
รับรองอนาคตไกล

ถ้าไปถามเด็กไทยในช่วง 2–3ปีนี้ ว่าอยากเรียนคณะไหนมากที่สุด นอกจากคณะยอดฮิตอย่างแพทย์,
วิศวะ, นิเทศศาสตร์, อักษรศาสตร์และบัญชีแล้ว คณะครุศาสตร์ที่ปลุกปั้นครูก็เป็นอีกสาขาที่เด็กไทยยุคใหม่ต้องการเรียนที่สุดคณะหนึ่งเพราะถือเป็นอาชีพที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรีได้สร้างคนสร้างสังคม
เด็กยุคใหม่ยังมองไกลว่าพวกเขาต้องการเป็นครูเพื่อจะได้เปลี่ยนระบบการศึกษาไทย

ในฐานะคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริเดช สุชีวะบอกเล่าถึงสถานการณ์การรับสมัครคัดเลือกนิสิตเข้าศึกษาในคณะครุศาสตร์ทั้ง21 วิชาเอกซึ่งมากที่สุดของประเทศ ประจำปีการศึกษาล่าสุดว่าปีนี้เป็นปีแรกที่มีการปรับปรุงหลักสูตร จากหลักสูตร 5 ปีเป็นหลักสูตร 4 ปี คณะจำเป็นต้องจำกัดจำนวนนิสิตที่จะรับจากเดิมที่เคยรับปีละ 450 คนมาในปีนี้คาดว่าจะรับนิสิตใหม่ประมาณ 400 คนเพื่อลดปัญหาจำนวนนิสิตที่รับปีนี้จะต้องไปปฏิบัติวิชาชีพ ครูพร้อมกับนิสิตปี 5ของหลักสูตรเดิมในปีการศึกษา 2565 โดยผลจากการเปิดรับสมัครทั้ง3 รอบที่ผ่านมา ทำให้ได้นิสิตมาแล้ว 306 คน และในรอบ 4 คาดว่าจะเหลือโควตารับเพิ่ม 100คนโดยคะแนนสูงสุดจากรอบ 3ที่ผ่านมา เป็นของสาขามัธยมศึกษามีคะแนนอยู่ที่ 26,000 กว่าคะแนนและคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 18,000 กว่าคะแนน

อย่างไรก็ดีแนวโน้มที่น่าดีใจคือ เด็กรุ่นใหม่ที่มาสอบสัมภาษณ์กับคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ในปีนี้
ล้วนแต่มีความตั้งใจและจริงจังที่อยากจะเป็นครูหลายคนตั้งใจนำวิชาชีพครูกลับไปพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดเนื่องจากตระหนักว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่มั่นคง มีคุณค่า สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคม 
เกือบทุกอาชีพกำลังถูกดิสรัปชันโดยเทคโนโลยีอาชีพครูก็หนีไม่พ้น จึงต้องมีการปรับตัวขนานใหญ่ คณบดีคนเก่งชี้ว่าครูยุคใหม่ต้องมีมากกว่าจิตวิญญาณความเป็นครู โดยครูต้องยืดหยุ่นพร้อมปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับความต้องการแท้จริงของเด็กที่สำคัญครูยุคใหม่ต้องมีทักษะการจัดการเรียนรู้แบบใหม่เพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นในอนาคต

ซึ่งครอบคลุมถึงทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทักษะการร่วมมือรวมพลัง ทักษะการทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ ทักษะด้านความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมทักษะการสื่อสารและรู้เท่าทันสื่อ ทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนทักษะการนำการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทางคณะมุ่งเน้นปีนี้คือการเรียนรู้ที่มุ่งสร้างสมรรถนะควบคู่กับการเปิดประสบการณ์ภาคสนามทางการศึกษาตั้งแต่ปี เพื่อให้นิสิตได้ไปคลุกคลีเรียนรู้ผู้เรียน, โรงเรียนและระบบการศึกษาจริงๆ

คำว่าครูไม่ควรจำกัดอยู่แค่เรื่องการสอนความรู้จากตำราแต่ครูต้องทำหน้าที่เป็นเพื่อนผู้ชี้แนะให้ผู้เรียนสร้างการเรียนรู้ด้วยความใฝ่รู้ของตนเองครูจึงต้องเข้าใจความต้องการและรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไปครูยุคใหม่จะให้คำแนะนำด้านวิชาการอย่างเดียวไม่พอ ต้องถ่ายทอดทักษะด้านชีวิตจิตใจ และสังคมด้วยเพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกยุคใหม่และเติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพของชาติต่อไป.

เรียกได้ว่าอาชีพครู
กลายเป็นอาชีพยอดฮิต อาชีพในดวงใจ อีก
1 อาชีพของเด็กยุคใหม่กันไปแล้วนะครับ

ขอขอบคุณ : ไทยรัฐ





วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

สพฐ.แจก 1 ล้าน ทุกเขตพื้นที่ ยกระดับคุณภาพการศึกษา | อ่านข่าวการศึกษา



สพฐ.แจก 1 ล้าน ทุกเขตพื้นที่
ยกระดับคุณภาพการศึกษา

เลขาธิการ กพฐ.แจก 1 ล้านบาทให้เขตพื้นที่ยกระดับคุณภาพการศึกษา จี้ 2
เดือนเด็กต้องอ่านออกเขียนได้
100%
เตรียม ถก ผอ.สพท.ทั่วประเทศ 29 พ.ค.นี้
  
วันนี้
(
22 พ.ค.) ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ ปฎิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(กพฐ.)
เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(กพฐ.) ว่า
ตนได้สั่งการให้ทุกสำนักของสพฐ.ได้บูรณาการการทำงานร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพ
พร้อมทั้งสร้างจุดเด่นของแต่ละหน่วยงานในการขับเคลื่อนการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รวมถึงเร่งติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปี
2562 ไตรมาสที่ 3 เดือนมิถุนายน
โดยเฉพาะงบลงทุนต้องเร่งใช้จ่ายให้เรียบร้อยเป็นไปตามเป้าหมาย เพื่อไม่ให้งบตกไป
ส่วนภาพรวพการเปิดเรียนเมื่อวันที่
16
พ.ค.เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
โดยตนได้กำชับเรื่องนมโรงเรียนว่าเขตพื้นที่ต้องประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.) ว่าอย่าให้มีการดำเนินการล่าช้า อย่างไรก็ตามในวันที่
29 พ.ค.ตนจะประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ
เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆรวมถึงวางแนวทางนโยบายรับนักเรียนในปี
2563 ด้วย
 “ผมเตรียมจัดสรรงบประมาณให้แก่เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศเขตละ 1
ล้านบาท”
 เพื่อใช้เชื่อมโยงการทำงานของเขตพื้นที่การศึกษาด้วยการยึดห้องเรียนและเด็กเป็นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เช่น
การอบรมพัฒนาครู การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นต้น
 “ซึ่งผมมีโจทย์ใหญ่ที่ต้องการให้เด็กอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็นภายในระยะเวลา 2
เดือนต่อจากนี้”

 โดยเงินดังกล่าวที่ให้ไปเขตพื้นที่ต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนในการนำเงินไปใช้จ่ายสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ
แต่หากเขตพื้นที่ไหนเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และมีโรงเรียนจำนวนมากก็จะจัดสรรเพิ่มให้ตามความจำเป็นของแต่ละพื้นที่
ปฎิบัติหน้าที่เลขาธิการ กพฐ.กล่าวและว่า
นอกจากนี้ตนได้มอบหมายให้เขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตจัดทำ
Big Data ด้านวิชาการ เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่างๆของพื้นที่และโรงเรียน
สำหรับบูรณาการในการแก้ปัญหาการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการจัดทำ
Big Data ส่วนกลางจะเป็นพี่เลี้ยงให้ว่าการจัดทำฐานข้อมูลดังกล่าวเขตพื้นที่จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง 



วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ชง ลดขนาดห้องเรียนโรงเรียนดังเหลือ 35 คน | อ่านข่าวการศึกษา





ชง ลดขนาดห้องเรียนโรงเรียนดังเหลือ 35 คน | อ่านข่าวการศึกษา



‘เอกชัย’ จ่อหารือ เลขาธิการกพฐ.ชงลดขนาดห้องเรียนโรงเรียนดังเหลือ 35 คน ชี้ แนวทางรับนักเรียนสอบ 100 % ไม่สร้างความเหลื่อมล้ำ



วันนี้ (21 พ.ค.) ศ.ดร.เอกชย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงกรณีนักวิชาการออกมาติงเรื่องข้อเสนอของบอร์ดกพฐ.ในการแบ่งกลุ่มโรงเรียนรับนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก เป็นโรงเรียนที่รับเด็กจากทั่วประเทศด้วยการสอบ 100% กลุ่มที่สองกลุ่มที่รับเด็กในเขตพื้นที่บริการเหมือนในปัจจุบันอาจส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ว่า  เรื่องนี้ไม่ได้เป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำแต่อย่างใด เพราะในเมื่อเด็กเก่งได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเอง เพราะทุกวันนี้โรงเรียนทั่วประเทศมีคุณภาพไม่เท่ากัน แต่ในความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องคุณภาพโรงเรียนที่ไม่ใช่โรงเรียนแข่งขันสูงก็ต้องดึงศักยภาพของตัวเองสร้างจุดเด่นพัฒนาให้เป็นโรงเรียนดังให้ได้ หรือแม้โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลก็ไม่จำเป็นว่าโรงเรียนจะต้องเป็นโรงเรียนดัง แต่โรงเรียนสามารถทำให้เด็กได้เรียนกับครูที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับเด็กที่เรียนในโรงเรียนดัง เช่น โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นต้น โดยการทำเทคโนโลยีมาใช้บันทึกการสอนของครูเก่งๆให้เด็กในพื้นที่ห่างไกลได้เรียน  อีกทั้งเกณฑ์รับนักเรียนแนวทางนี้ยังเป็นช่องทางสกัดปัญหาทุจริตและการเรียกรับเงินแลกที่นั่งเรียนหรือแป๊ะเจี๊ยให้หมดไปอย่างแน่นอน

             

ประธาน กพฐ.กล่าวต่อไปว่า ส่วนข้อกังวลว่าเด็กจะแห่ไปกวดวิชามากขึ้นนั้น เรื่องนี้เราต้องเปลี่ยนวิธีการออกข้อสอบให้เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ พร้อมกับทักษะที่เด็กควรจะมีและพร้อมเรียน เพราะเด็กก็รู้เนื้อหาการเรียนอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อเราปรับวิธีสอบเป็นคิดวิเคราะห์เชื่อได้เลยว่าโรงเรียนกวดวิชาไม่มีทางสอนได้ และการเด็กแห่ไปเรียนกวดวิชาก็จะหมดไปเอง ขณะเดียวกันกันการแก้ไขปัญหาโรงเรียนขยายโอกาสก็ควรจะสนับสนุนการเรียนสายอาชีพมากกว่าการขยายไปสู่รูปแบบการเรียนสามัญ โดยปรับให้เหมาะกับบริบทกับพื้นที่และชุมชนนั้น อย่างไรก็ตามเร็วๆนี้ตนจะเสนอ ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ ปฎิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ให้มีการตั้งคณะกรรมการปรับปรุงเกณฑ์รับนักเรียน ปี 2563 ซึ่งตนมีแนวคิดจะเสนอให้ปรับลดการรับนักเรียนในโรงเรียนที่มีอัตราแข่งขันสูงจากเดิม รับ 40 คนต่อห้อง เหลือเป็น 35 คนต่อห้อง เพื่อกระจายเด็กไปเรียนในโรงเรียนอื่นได้บ้าง



ขอขอบคุณ : เดลินิวส์

https://www.dailynews.co.th/education/710390



ติดตามเราทางเพจ

https://web.facebook.com/ReadNewsEducation/



ติดตามเราทางบล็อก

https://arnkhawkansueksa.blogspot.com/



#อ่านข่าวการศึกษา #ข่าวการศึกษา #การรับนักเรียน




วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

รอง กพฐ. ลงพื้นที่ตรวจ เปิดเทอมวันแรก | อ่านข่าวการศึกษา





เปิดเทอมวันแรก
รอง กพฐ.ลงพื้นที่ตรวจ ร.ร.เทพศิรินทร์พบเรียบร้อย-พร้อมทุกด้าน

รอง กพฐ.ลงพื้นที่ตรวจ ร.ร.เทพศิรินทร์พบเรียบร้อย-พร้อมทุกด้าน

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม
ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ นายพีระ รัตนวิจิตร
รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)
พร้อมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามความพร้อมในการเปิดเทอมวันแรก
และถือเป็นการเปิดเทอมอย่างเป็นทางการของโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ทั่วประเทศ
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศเปิดเทอมวันแรกของโรงเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
นักเรียนทยอยเข้าเรียนตั้งแต่เช้า
ทางโรงเรียนอำนวยความสะดวกโดยจัดเตรียมช่องทางเพื่อให้ผู้ปกครองจอดรถส่งบุตรหลานเข้าเรียน
เพื่อลงปัญหาการจราจรติดขัด
และผู้อำนวยการเข้ารับนักเรียนในตอนเช้าบริเวณหน้าประตูโรงเรียนพร้อมกับครูเวรด้วย
นายพีระ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามความพร้อมว่า
วันนี้เป็นวันเปิดภาคเรียน หรือเปิดเทอมวันแรกของภาคเรียนที่
1 ปีการศึกษา 2562 สพฐ. จึงได้มาติดตามความพร้อมของโรงเรียน
ซึ่งที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ถือได้ว่ามีความพร้อมทุกด้าน ทั้งอาคาร สถานที่
ครูและสื่อการสอน เชื่อว่าจะสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม ก่อนเปิดเทอม
สพฐ.ได้มีหนังสือกำชับผ่านไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศ
ให้ประสานโรงเรียนในสังกัดดูแล เตรียมความพร้อมทุกด้านรองรับการเปิดเรียน
ทั้งอาคารสถานที่ ความสะอาด ความปลอดภัย ครูผู้สอน สื่อการเรียนการ
ที่สำคัญปีนี้เน้นย้ำให้ผู้อำนวยการโรงเรียนต้องลงมารอรับนักเรียนในตอนเช้าบริเวณหน้าประตูโรงเรียนพร้อมกับครูเวร
เพื่อสร้างการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครองและนักเรียน
โดยเฉพาะนักเรียนที่เพิ่งเข้ามาเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 และ ม.4 ที่เป็นเด็กใหม่ได้มีโอกาสรู้จัก
ผู้อำนวยการโรงเรียนและครู
สำหรับโรงเรียนในต่างจังหวัด
ช่วงที่ผ่านมามีปัญหาพายุฤดูร้อนทำให้บางโรงเรียนได้รับผลกระทบความเสียหาย
ซึ่งได้กำชับให้สำรวจตรวจสอบความปลอดภัยของอาคาร
สถานที่ให้เรียบร้อยให้เสร็จก่อนเปิดเทอม
และเร่งแก้ไขให้พร้อมกับการเปิดการเรียนการสอน ตรงนี้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสพท.
ผู้อำนวยการโรงเรียน ต้องกวดขันพิเศษ โดยทุกอย่างต้องคำนึงถึงการปลอดภัยของเด็กเป็นหลัก
หากละเลยไม่ใส่ใจกรณีเกิดเหตุการณ์ที่อันตรายก็เป็นความรับผิดชอบของโรงเรียน
ขณะเดียวกัน ได้กำชับเรื่องการเดินทางไป-กลับโดยรถรับส่ง ให้คอยตรวจตราให้ปลอดภัย
การทำความสะอาดครัว โรงอาหารต่างๆ ได้กำชับไว้เรียบร้อยแล้ว
นายพีระ กล่าว


ขอขอบคุณ : มติชน https://www.matichon.co.th/education/... ติดตามเราทางเพจ https://web.facebook.com/ReadNewsEduc...


วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

ฟินแลนด์การศึกษาที่ดีที่สุดในโลก | 28 เม.ย. 62 | อ่านข่าวการศึกษา



ฟินแลนด์การศึกษาที่ดีที่สุดในโลก | 28 เม.ย. 62 | อ่านข่าวการศึกษา

การศึกษาฟินแลนด์ที่มีผลสัมฤทธิ์สูงที่สุดในโลกด้วยการขอให้เด็กนักเรียนใช้เวลาที่โรงเรียนน้อยลงและให้ทำการบ้านและสอบน้อยลง

จากข้อมูลโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment) หรือ PISA ระบุว่า เด็กนักเรียนในฟินแลนด์มีผลการเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่าน โดยเฉลี่ยดีกว่าเด็กจากประเทศที่พัฒนาแล้วในกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD)

Organisation for Economic Co-operation and Development  องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ  เป็นองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และยอมรับระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการค้าเสรีในการร่วมกันและพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปและโลก โดยมีสมาชิกประเทศยุโรปตะวันตกจำนวน 19 ประเทศ เป็นผู้ลงนาม ได้แก่ ออสเตรีย,เบลเยี่ยม, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, กรีซ, ไอซ์แลนด์,ไอร์แลนด์,อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, นอร์เวย์,เนเธอร์แลนด์ ,โปรตุเกส,อังกฤษ,สวีเดน,สวิตเซอร์แลนด์,ตุรกี,สหรัฐอเมริกา,เยอรมนีตะวันตกและแคว้นอิสระของตรีเอสเต

ในปัจจุบันการศึกษาของฟินแลนด์มีความเสมอภาค  โรงเรียนทุกแห่งของประเทศฟินแลนด์มีมาตรฐานใกล้เคียงกันทั้งสิ้น แม้ว่าจะเป็นโรงเรียนที่อยู่ในกรุงเฮลซิงกิซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศฟินแลนด์ หรือเป็นโรงเรียนชานเมืองที่ห่างไกล ทำให้ไม่ว่านักเรียนย้ายไปที่ไหนของฟินแลนด์ ก็ยังมั่นใจได้ว่าได้มาตรฐานสูงเช่นเดียวกัน

ความเสมอภาคและความเป็นธรรมในสังคม
ที่โรงเรียน Viikki ในกรุงเฮลซิงกิ เด็กนักเรียนที่มาจากครอบครัวร่ำรวยและครอบครัวชนชั้นแรงงานนั่งเรียนรวมกันในห้องเรียน
-ที่นี่ไม่มีค่าเทอม และ
-ไม่มีค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์การเรียน
-รัฐจัดบริการด้านสาธารณสุขและการศึกษาฟรีให้แก่ประชาชน
-จัดที่พักอาศัยในราคาที่คนส่วนใหญ่สามารถซื้อได้
-ให้พ่อแม่ได้สิทธิ์เลี้ยงลูกหลังคลอดเป็นเวลานานเพื่อส่งเสริมให้ผู้ชายรับผิดชอบในการดูแลลูกมากขึ้น
-ให้มีบริการรับเลี้ยงเด็กเล็กในราคาที่รัฐบาลอุดหนุนหรือฟรี รวมทั้งจัดสวัสดิการสังคมที่เพียงพอให้แก่ประชาชน
-รัฐบาลให้ความสำคัญกับการศึกษามากมีสวัสดิการต่างๆให้ประชาชนตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนตลอดชีวิต รวมถึงให้ความสำคัญกับเด็กทุกคนส่งเสริมทักษะต่างๆที่เด็กๆ ถนัดและสนใจ โดยไม่ได้เน้นเด็กที่เรียนเก่งเพียงอย่างเดียว

คุณค่าของครู
ปรัชญาของระบบการศึกษาฟินแลนด์ ยังสะท้อนออกมาในห้องเรียนด้วย
ในโรงเรียนทั่วไป ครูใช้เวลาในการสอนหนังสือวันละ 4 ชั่วโมง ทำให้พวกเขาได้มีเวลาเตรียมการสอน นำความรู้ที่มีอยู่กลับมาใช้ใหม่ และมีเวลาใส่ใจเด็กนักเรียนมากขึ้น
วิชาชีพครูมีรายได้ดีพอสมควร และเงื่อนไขการทำงานก็ดีด้วย
ด้วยเหตุนี้ ครุศาสตร์ จึงกลายเป็นหนึ่งในอาชีพที่เยาวชนในฟินแลนด์นิยมเรียนมากที่สุดแซงหน้าการเรียนเป็นแพทย์ นักกฎหมาย และสถาปนิก
นอกจากนี้ ชั่วโมงการเรียนของโรงเรียนในฟินแลนด์ยังสั้นกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนในประเทศกลุ่ม OECD อื่น ๆ หรือ ราว 670 ชั่วโมงต่อปีสำหรับโรงเรียนระดับประถมศึกษา เป็นต้น

เอียร์ยา ชัค ครูที่โรงเรียน Viikki บอกว่า
"มันเป็นเรื่องสำคัญที่เด็กจะมีเวลาได้เป็นเด็ก"
"สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณภาพ ไม่ใช่ปริมาณของเวลาที่ใช้ในห้องเรียน" เธอกล่าว

เด็กนักเรียนที่ฟินแลนด์ยังมีการบ้านน้อยกว่าด้วย
ข้อมูลจาก OECD ระบุว่า เด็กอายุ 15 ปีในฟินแลนด์ใช้เวลาทำการบ้านเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2.8 ชั่วโมงขณะที่เวลาทำการบ้านโดยเฉลี่ยของนักเรียนในกลุ่ม OECD คือ 4.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

"เด็กได้เรียนสิ่งที่พวกเขาต้องเรียนรู้ในชั้นเรียน พวกเขามีเวลามากขึ้นในการอยู่กับเพื่อนและทำอย่างอื่นที่พวกเขาชอบ ซึ่งก็สำคัญเช่นกัน"
มาร์ตตี เมรี ครูอีกคนกล่าว

บรรยากาศที่ผ่อนคลาย
บรรยากาศที่โรงเรียน Viikki เต็มไปด้วยความสงบและไม่เป็นทางการ ที่นี่ไม่มีเครื่องแบบนักเรียน เด็ก ๆ เดินไปไหนมาไหนโดยสวมถุงเท้า ตามธรรมเนียมของประเทศในแถบสแกนดิเนเวียที่เด็ก ๆ จะไม่สวมรองเท้าในห้องเรียน
นอกจากนี้ เด็ก ๆ ในฟินแลนด์ยังไม่ต้องวิตกกังวลกับการสอบด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่มีในการศึกษาช่วง 5 ปีแรกของเด็ก และในปีต่อจากนั้น นักเรียนจะถูกประเมินจากความสามารถในชั้นเรียน

หลักการของระบบการศึกษานี้คือการมองว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพในการเรียนรู้หากพวกเขาได้รับการสนับสนุนและโอกาสส่วนครูอาจารย์ต่างเชื่อว่าหน้าที่ของพวกเขาคือการช่วยนักเรียนให้เรียนรู้โดยปราศจากความกังวล และพัฒนาความสงสัยใคร่รู้ตามธรรมชาติของพวกเขา ไม่ใช่การสอบผ่าน

ข้อมูลจาก PISA ระบุว่า มีนักเรียนในฟินแลนด์เพียง 7% เท่านั้นมีความวิตกกังวลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ขณะที่ญี่ปุ่นซึ่งมีระบบที่เข้มงวดและมีผลการเรียนเป็นเลิศ แต่ต้องแลกมาด้วยสุขภาพจิตของเด็ก โดยตัวเลขดังกล่าวสูงถึง 52%

ขอขอบคุณ :
ข้อมูลข่าว https://www.bbc.com/thai/features-456...

ภาพ https://pixabay.com/th/

ภาพ โลโก้ https://sco.wikipedia.org/wiki/File:O...

ติดตามเราทางเพจ
https://web.facebook.com/ReadNewsEduc...


วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562

สกสค.ปัดฝุ่นโครงการพัฒนาชีวิตครู หมุน 1.5 หมื่นล.แก้หนี้ | 26 เม.ย. 62 |...



สกสค.ปัดฝุ่นโครงการพัฒนาชีวิตครู หมุน 1.5 หมื่นล.แก้หนี้
เมื่อวันที่ 26 เมษายน
นายอรรถพล ตรึกตรอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการสกสค.ที่มีนพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการศธ. เป็นประธาน เมื่อเร็ว ๆ นี้ เห็นชอบเพิกถอนมติคณะกรรมการสกสค. เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2561 ที่ให้ยุติโครงการพัฒนาชีวิตครู และให้คืนเงินในส่วนที่ต้องจัดสรรให้เครือข่ายพัฒนาชีวิตครู ให้ธนาคารออมสินไปดำเนินการ ทั้งนี้ตนได้ตรวจสอบและ พบว่า โครงการดังกล่าว ธนาคารออมสินจะให้เงิน 50,000 ล้านบาท ในการพัฒนาและแก้ปัญหาหนี้สินครู โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติงบประมาณเริ่มต้นจำนวน 500 ล้านบาท ดังนั้นการจะใช้มติคณะกรรมการสกสค. ไปยกเลิกมติครม. จึงไม่สามารถทำได้ ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้สกสค.เริ่มดำเนินโครงการใหม่
นายอรรถพล กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ปัญหาที่พบคือ ไม่สามารถประชุมคณะกรรมการโครงการได้เพราะข้อบังคับกำหนดว่า ให้กรรมการโครงการ ประกอบด้วยผู้แทน ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา จากคณะกรรมการสกสค. 12 คน
แต่เมื่อมีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ( คสช.)ที่ 7/2558 เรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) และคณะกรรมการบริหารองค์การค้าของ สกสค. ยุติบทบาทคณะกรรมการสกสค. ทำให้คณะกรรมการมีองค์ประกอบไม่ครบ จึงเสนอแก้ข้อบังคับสกสค. ว่าด้วยการพัฒนาชีวิตครู เพื่อให้องค์ประกอบคณะกรรมการครบ และได้อายัดเงินสนับสนุนพิเศษ 0.25% ซึ่งเป็นเงินค่าตอบแทนที่ธนาคารออมสินจ่ายให้ตามสัญญา และยังเหลือค้างบัญชี
อยู่ ประมาณ 41 ล้านบาท โดยห้ามเคลื่อนไหว จนกว่าจะมีการประชุม
คณะกรรมการชุดใหม่
“จากนี้จะไปดำเนินการจัดทำข้อบังคับ เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการศธ. เห็นชอบคณะกรรมการชุดใหม่ ซึ่งหากสามารถประชุมนัดแรกได้ จะเริ่มต้นจ่ายเงินลงพื้นที่ให้เครือข่ายทำกิจกรรมต่อ ขณะเดียวกันยังมี จำนวนผู้กู้คงเหลือ 18,387 คน สินเชื่อคงเหลือ ข้อมูลวันที่31 ธันวาคม 2561 อีกกว่า 15,000 ล้านบาท ดังนั้นคงจะไม่สามารถ ยกเลิกโครงการได้ เรื่องนี้ทางเครือข่ายครูต่างเรียกร้องให้เริ่มดำเนินการใหม่” นายอรรถพล กล่าว
ขอขอบคุณ : มติชน
https://www.matichon.co.th/education/...
ติดตามเราทางเพจ
https://web.facebook.com/ReadNewsEduc...

วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562

‘บิ๊กสพฐ.’ แนะครูถูกรีดเงิน 2 แสนแลกย้ายกลับภูมิลำเนา แจ้งความดำเนินคดี ...



‘บิ๊กสพฐ.’ แนะครูถูกรีดเงิน 2 แสนแลกย้ายกลับภูมิลำเนา แจ้งความดำเนินคดี | 12 เม.ย. 62 | อ่านข่าวการศึกษา ‘บิ๊กสพฐ.’ แนะครูถูกรีดเงิน 2 แสนแลกย้ายกลับภูมิลำเนา แจ้งความดำเนินคดี ด้านองค์กรครูชี้แก้ยาก มีทุกยุคทุกสมัย เมื่อวันที่ 11 เมษายน นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยกรณี พล.อ.โกศล ประทุมชาติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธีการ (ศธ.) ได้รับการร้องเรียนจาก ครูสอนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องการขอย้ายไปสอนในจังหวัดภูมิลำเนาในภาคเดียวกัน เพราะต้องการดูแลแม่ที่ชราและเจ็บป่วย จึงทำเรื่องขอย้ายครูรอบแรกในเดือนมกราคมที่ผ่านมา แต่กลับมีโทรศัพท์มาหาครูรายนี้ แจ้งว่าคณะกรรมการจัดทำคะแนนในการย้ายครูและบุคลากรทางการศึกษา กำลังพิจารณาจัดทำคะแนน ถ้าอยากย้ายจะให้เงินเท่าใด โดยราคาเริ่มต้นที่ 200,000 บาท และถ้าไม่เอา จะให้ครูอีกรายขึ้นมาแทน ครูรายนี้จึงร้องเรียนว่าอยากให้มีการตรวจสอบคะแนนในการพิจารณาการย้ายครั้งนี้นั้น ว่า เรื่องนี้ต้องมีการสืบหาต้นเหตุให้ได้ว่า เหตุเกิดจากใคร เกิดจากคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) หรือมาจากผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) หรือใคร หน้าที่ตำแหน่งใดที่ไปตกเบ็ดเรียกรับเงินจากครู ทั้งนี้อยู่ที่ครูผู้มาร้องเรียนด้วยว่าจะให้ข้อเท็จจริงมากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากเหตุเกิดจากผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งใด ผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับต้องไปดูแลครู ใครทำผิด ผู้อำนวยการเขตฯ ต้องหาข้อเท็จจริง และเสนอ กศจ.แต่งตั้งคณะกรรมการสอบวินัยต่อไป หากผู้อำนวยการเขตพื้นที่ เป็นผู้กระทำความผิด เป็นหน้าที่ของเลขาธิการ กพฐ. ต้องเข้าไปจัดการ เป็นต้น นายบุญรักษ์ กล่าว “อยากฝากครูทุกคนว่า เรื่องเรียกเงิน ขอให้หมดไปสักที ขณะนี้เกณฑ์การย้ายมีความเป็นธรรมมากอยู่แล้ว อีกทั้งปัจจุบันข้อมูลข่าวสาร ใครจะทำอะไรก็รู้กันหมด ส่วนใหญ่ผู้ที่เรียกเงินจะเป็นผู้ที่ ไม่มีอำนาจหน้าที่ หรือมีคนกลางไปหลอกลวง เป็นต้น หากมีใคร โทรเข้ามาเสนอราคาในลักษณะนี้ อยากให้ครูบันทึกเสียงไว้ และแจ้งความดำเนินคดี คนแบบนี้ถ้าเป็นคนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จริง เราไม่อยากเอาไว้ในระบบ เพราะ สพฐ.มีบุคลากรอยู่ประมาณ 400,000 คน ต้องมาเสียเพราะคนไม่กี่คน” นายวิทยา พันธุ์เพ็ง เลขาธิการสมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (ส.ค.ท.) กล่าวว่า ปัญหานี้มีมาทุกยุคทุกสมัย จะมีการตกเบ็ดเรียกรับเงินลักษณะนี้มานานแล้ว และเป็นเรื่องที่แก้ไขยาก แม้ปัจจุบันมีการตรวจสอบที่เข็มข้น อาจจะมีน้อยลงบ้าง พบบ้างในบางเขตพื้นที่ฯ แต่อย่างไรก็ตามในอดีตส่วนราชการ เช่น สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) มองว่าการเรียกรับเงินจากการขอย้าย มาจากนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง แท้จริงแล้วไม่ใช่ ปัญหานี้มีมาทุกยุคถ้าไม่มีผู้รู้เห็นเป็นใจ ใครจะกล้าดำเนินการ เมื่อมีการกระทำลักษณะนี้ ความหายนะจึงเกิดขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แน่นอน เพราะการศึกษาไทยจะไม่ได้ครูที่มีคุณภาพเข้ามาสอนนักเรียน ส่วนการแก้ไขปัญหานั้น ตนคิดว่าเดิมศธ. เป็นกระทรวงที่ใสสะอาดอยู่แล้ว แต่อยากให้รัฐบาลมีความจริงใจที่จะเข้ามาบริหารจัดการให้ศธ.ใสสะอาดมากขึ้น ขอขอบคุณ : มติชน https://www.matichon.co.th/education/news_1447349 ติดตามเราทางเพจ https://web.facebook.com/%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2-290339498297747/?modal=admin_todo_tour

วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562

10 จังหวัดที่มีจำนวนคนอ่านหนังสือมากที่สุด ปี 2561 | 6 เม.ย. 62 | อ่านข่...



10 จังหวัดที่มีจำนวนคนอ่านหนังสือมากที่สุด ปี 2561

จาก ผลสำรวจการอ่านของประชากร ประจำปี 2561” ของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ หรือ ทีเคปาร์ก เปิดเผยว่า จากการสำรวจการอ่านของคนไทยในปี 2561 พบว่าคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป อ่านร้อยละ 78.8 หรือคิดเป็นจำนวนประชากร 49.7 ล้านคน โดยในกรุงเทพฯ มีคนอ่านมากที่สุดซึ่งนำมาเรียงลำดับ เป็นภูมิภาคแล้วจำนวนประชากรที่อ่านหนังสือมากที่สุด
อันดับที่ 1 ภาคกลาง    ร้อยละ 80.4
อันดับที่ 2 ภาคเหนือ  ภาคอีสาน   ร้อยละ 75       
อันดับที่ 3 ภาคใต้       ร้อยละ 74.3 
ขณะที่เวลาในการอ่านหนังสือสูงขึ้น พบว่าคนไทยอ่านหนังสือนานสุด 80 นาที/วัน และเมื่อเทียบจากปี 2558 อ่านเพียง 66 นาที/วัน และ ปี 2556 อ่านเพียง 37 นาที/วัน ทั้งนี้จากการจัดอันดับ แยกเป็นจังหวัด 10 จังหวัดที่มีจำนวนคนอ่านหนังสือมากที่สุด ปี 2561 มีดังต่อไปนี้
1.       กรุงเทพฯร้อยละ 92.9
2.       สมุทรปราการ ร้อยละ 92.7
3.       ภูเก็ต ร้อยละ 91.3
4.       ขอนแก่น ร้อยละ 90.5
5.       สระบุรี ร้อยละ 90.1
6.       อุบลราชธานี ร้อยละ 88.8
7.       แพร่ ร้อยละ 87.6
8.       ตรัง ร้อยละ 87.2
9.       นนทบุรี ร้อยละ 86.6
10.    ปทุมธานี ร้อยละ 86.2

ด้านนายกิตติรัตน์ ปิติพานิช รอง ผอ. สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้และผอ.ทีเคปาร์ก กล่าวว่า จากการสำรวจในปี 2556และปี2558 พบว่าสถิติการอ่านของคนไทยมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในปีนี้เข้าสู่ยุคดิจิทัล พบว่า การอ่านผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการอ่าน ทำให้ห้องสมุด ร้านหนังสือ หรือส่วนงานที่เกี่ยวข้องต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะหน่วยงานที่ทำงานด้านการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้นายกิตติรัตน์ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้เราพบตัวเลขคนอ่านเพิ่มขึ้นร้อยละ 78.8 กลุ่มที่ไม่อ่าน มีถึงร้อยละ 21.2 คิดเป็นจำนวนประชากร 13.7 ล้านคน เหตุผลการไม่อ่าน ได้แก่ ดูทีวี ไม่มีเวลา อ่านไม่ออก ไม่ชอบ ไม่สนใจการอ่าน ชอบเล่นเกม และไม่มีเงินซื้อหนังสือ ซึ่งในกลุ่มคนที่ไม่อ่านถือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ทีเคปาร์ก และหน่วยงานที่ทำงานด้านส่งเสริมการอ่านให้ความสำคัญ โดยพบว่าเด็กอายุระหว่าง 6-14 ปี มีแนวโน้มการอ่านเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่า การรณรงค์ส่งเสริมการอ่านในกลุ่มนี้ค่อนข้างได้ผล ส่วนเด็กอายุ 15-24 ปี กลับพบว่าไม่ชอบการอ่านหนังสือถึงร้อยละ 34.9 ขณะที่วัยผู้ใหญ่ 25-50 ปี ที่ไม่ชอบอ่านหนังสือมีถึงร้อยละ 32.8 ชี้ให้เห็นว่าช่วงมัธยมศึกษาตอนต้นจนถึงทำงานและเกษียณอายุยังขาดนิสัยรักการอ่าน และการปลูกฝังเรื่องรักการอ่านในคนไทยอาจจะยังไม่ประสบผลสำเร็จจากผลการสำรวจในปี 2561 ยังพบว่าการอ่านผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียวในเด็กวัยต่ำกว่า 6 ปี มีจำนวนร้อยละ 5.4 เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าจากผลสำรวจเมื่อครั้งที่แล้ว หรือคิดเป็นเด็กจำนวนถึง 145,000 คน ถูกพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามจากผลการวิจัยทางการแพทย์ ยืนยันว่า การเสพสื่อผ่านจออิเล็กทรอนิกส์มีผลกระทบกับพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งไม่สมควรใช้กับเด็กเล็กแรกเกิดจนถึง 1 ขวบครึ่งอย่างสิ้นเชิง นายกิตติรัตน์ กล่าวย้อนกลับ

ขอขอบคุณ : dailynews https://www.dailynews.co.th/education... และ https://www.tkpark.or.th/tha/home ขอบคุณภาพจาก https://pixabay.com/th/ ติดตามเราทางเพจ https://www.facebook.com/%E0%B8%AD%E0...

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

รวมข่าวประจำสัปดาห์ 4-10 ก.พ. 2562

ด่วน!! สนช.ผ่านวาระ 3 ร่างพ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ...... | 9 ก.พ. 62...

“อรรถพล” ลุยยกเครื่องโรงพยาบาลครู | 9 ก.พ. 62 | อ่านข่าวการศึกษา

แก้ประกาศรับนร.ปี62เข้ม ม.3ขึ้นม.4รร.เดิมต้องรับหมด | 8 ก.พ. 62 | อ่านข่...

1 มี.ค.จี้ผอ.ใหม่ต้องรายงานตัว ที่โรงเรียนทันที | 6 ก.พ. 62 | อ่านข่าวกา...