วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562

10 จังหวัดที่มีจำนวนคนอ่านหนังสือมากที่สุด ปี 2561 | 6 เม.ย. 62 | อ่านข่...



10 จังหวัดที่มีจำนวนคนอ่านหนังสือมากที่สุด ปี 2561

จาก ผลสำรวจการอ่านของประชากร ประจำปี 2561” ของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ หรือ ทีเคปาร์ก เปิดเผยว่า จากการสำรวจการอ่านของคนไทยในปี 2561 พบว่าคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป อ่านร้อยละ 78.8 หรือคิดเป็นจำนวนประชากร 49.7 ล้านคน โดยในกรุงเทพฯ มีคนอ่านมากที่สุดซึ่งนำมาเรียงลำดับ เป็นภูมิภาคแล้วจำนวนประชากรที่อ่านหนังสือมากที่สุด
อันดับที่ 1 ภาคกลาง    ร้อยละ 80.4
อันดับที่ 2 ภาคเหนือ  ภาคอีสาน   ร้อยละ 75       
อันดับที่ 3 ภาคใต้       ร้อยละ 74.3 
ขณะที่เวลาในการอ่านหนังสือสูงขึ้น พบว่าคนไทยอ่านหนังสือนานสุด 80 นาที/วัน และเมื่อเทียบจากปี 2558 อ่านเพียง 66 นาที/วัน และ ปี 2556 อ่านเพียง 37 นาที/วัน ทั้งนี้จากการจัดอันดับ แยกเป็นจังหวัด 10 จังหวัดที่มีจำนวนคนอ่านหนังสือมากที่สุด ปี 2561 มีดังต่อไปนี้
1.       กรุงเทพฯร้อยละ 92.9
2.       สมุทรปราการ ร้อยละ 92.7
3.       ภูเก็ต ร้อยละ 91.3
4.       ขอนแก่น ร้อยละ 90.5
5.       สระบุรี ร้อยละ 90.1
6.       อุบลราชธานี ร้อยละ 88.8
7.       แพร่ ร้อยละ 87.6
8.       ตรัง ร้อยละ 87.2
9.       นนทบุรี ร้อยละ 86.6
10.    ปทุมธานี ร้อยละ 86.2

ด้านนายกิตติรัตน์ ปิติพานิช รอง ผอ. สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้และผอ.ทีเคปาร์ก กล่าวว่า จากการสำรวจในปี 2556และปี2558 พบว่าสถิติการอ่านของคนไทยมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในปีนี้เข้าสู่ยุคดิจิทัล พบว่า การอ่านผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการอ่าน ทำให้ห้องสมุด ร้านหนังสือ หรือส่วนงานที่เกี่ยวข้องต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะหน่วยงานที่ทำงานด้านการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้นายกิตติรัตน์ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้เราพบตัวเลขคนอ่านเพิ่มขึ้นร้อยละ 78.8 กลุ่มที่ไม่อ่าน มีถึงร้อยละ 21.2 คิดเป็นจำนวนประชากร 13.7 ล้านคน เหตุผลการไม่อ่าน ได้แก่ ดูทีวี ไม่มีเวลา อ่านไม่ออก ไม่ชอบ ไม่สนใจการอ่าน ชอบเล่นเกม และไม่มีเงินซื้อหนังสือ ซึ่งในกลุ่มคนที่ไม่อ่านถือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ทีเคปาร์ก และหน่วยงานที่ทำงานด้านส่งเสริมการอ่านให้ความสำคัญ โดยพบว่าเด็กอายุระหว่าง 6-14 ปี มีแนวโน้มการอ่านเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่า การรณรงค์ส่งเสริมการอ่านในกลุ่มนี้ค่อนข้างได้ผล ส่วนเด็กอายุ 15-24 ปี กลับพบว่าไม่ชอบการอ่านหนังสือถึงร้อยละ 34.9 ขณะที่วัยผู้ใหญ่ 25-50 ปี ที่ไม่ชอบอ่านหนังสือมีถึงร้อยละ 32.8 ชี้ให้เห็นว่าช่วงมัธยมศึกษาตอนต้นจนถึงทำงานและเกษียณอายุยังขาดนิสัยรักการอ่าน และการปลูกฝังเรื่องรักการอ่านในคนไทยอาจจะยังไม่ประสบผลสำเร็จจากผลการสำรวจในปี 2561 ยังพบว่าการอ่านผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียวในเด็กวัยต่ำกว่า 6 ปี มีจำนวนร้อยละ 5.4 เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าจากผลสำรวจเมื่อครั้งที่แล้ว หรือคิดเป็นเด็กจำนวนถึง 145,000 คน ถูกพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามจากผลการวิจัยทางการแพทย์ ยืนยันว่า การเสพสื่อผ่านจออิเล็กทรอนิกส์มีผลกระทบกับพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งไม่สมควรใช้กับเด็กเล็กแรกเกิดจนถึง 1 ขวบครึ่งอย่างสิ้นเชิง นายกิตติรัตน์ กล่าวย้อนกลับ

ขอขอบคุณ : dailynews https://www.dailynews.co.th/education... และ https://www.tkpark.or.th/tha/home ขอบคุณภาพจาก https://pixabay.com/th/ ติดตามเราทางเพจ https://www.facebook.com/%E0%B8%AD%E0...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น